อิฐดินดิบ

1. การเลือกพื้นที่ ควรจะเป็นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงถ้าเป็นพื้นราบ ควรจะถมดินให้สูงกว่าระดับพื้นทั่วๆไป เพราะบ้านดินไม่กลัวลมไม่กลัวฝนไม่กลัวไฟ กลัวอย่างเดียวคือน้ำท่วม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำให้บ้านอยู่ไกลจากน้ำท่วมให้ได้

2. การออกแบบบ้าน เจ้าของบ้านควรจะเป็นคนออกแบบบ้านเอง เพราะไม่มีใครรู้ดีเท่าเจ้าของบ้านว่าเขาต้องการบ้านรูปร่างยังไง ต้องการห้องทำอะไรบ้าง หรือต้องการใช้พื้นที่ไหนทำอะไร บ้านไม่เกินสองชั้นไม่มีอะไรซับซ้อนไนการออกแบบ และไม่จำเป็นต้องคำนวณสัดส่วนต่างๆเพียงแค่ขีดเส้นไปตามพื้นดินแล้วทำฐานตามไปตามจินตนาการ ยกเว้นบ้านที่มากกว่าสองชั้นอาจจะหาผู้มีประสบการช่วย แม้ว่าบ้านดินจะสามารถ สร้างสูงได้หลายชั้น แต่ยิ่งสูงยิ่งหนักในการขนอิฐขนดินขึ้นไปบ้านชั้นเดียวหรือสองชั้นง่ายที่สุด สำหรับคนที่เริ่มทำบ้านใหม่ๆ

บ้านดินจะออกแบบเป็นรูปทรงอะไรก็ได้ จะเป็นวงกลม หรือผนังตรงก็ได้ หรือจะลากเส้นไปยังไงก็ได้ตามต้องการแต่ถ้าเป็นผนังตรงยาว เกิน 4 เมตรควรจะทำติ่งยื่นออกมาด้านนอกของกำแพงยาวอย่างน้อย 8 นิ้ว ทุกๆ 4 เมตรจะทำให้ กำแพงแข็งแรงมากขึ้นโดยเฉพาะขณะก่อใหม่ๆกำแพงยังไม่แห้งเวลาเคลื่อนไหวบน กำแพงแรงๆอาจทำให้กำแพงเอนเอียงได้ การทำติ่งหรือการสร้างมุมขึ้นบนกำแพงตรงๆจะช่วยได้มาก จริงๆแล้วติ่งก็คือเสาดินที่ติดเชื่อมกับกำแพงด้านนอกห้องนั่นเอง บ้านดินไม่ควรมีเสาไม้เสาคอนกรีตหรือเสาอื่นๆอยู่ในกำแพงนอกจากเสาอิฐดิน ที่ก่อเชื่อมติดอยู่ในกำแพงบางส่วน เพราะบ้านดินเป็นการก่อสร้างโดยใช้เทคนิค ผนังรับน้ำหนัก ผนังทั้งหมดจะเชื่อมต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันน้ำหนักจากข้างบนจะกระจาย ลงบนผนังทั้งหมดระบบผนังรับน้ำหนักจึงรับน้ำหนักได้มากกว่าระบบเสารับน้ำหนักเช่นบ้านทั่วๆไปได้หลายสิบเท่าการมีเสาอยู่ในกำแพงดินจะทำให้บ้านดินไม่แข็งแรงเพราะเสาจะแยกไม่ให้ผนังดินเชื่อมติดกันเวลามีแรงสะเทือนแรงๆ เช่นแผ่นดินไหวจะทำให้เกิดรอยร้าวตรงที่เป็นเสาได้เมื่อเกิดรอยร้าวขึ้นหมายความว่ากำแพงไม่ได้เชื่อมติดกันอีกต่อไป การกระจายน้ำหนักก็จะจบลงตรงรอยร้าวผนังส่วนนั้นก็จะตั้งอยู่โดยไม่มีอะไรค้ำยันถือว่าไม่แข็งแรงเลย เวลาออกแบบควรจะคำนึงถึงทิศทาง แสง ลม ฝนว่ามันมาจากทิศทางไหนบ้างและเราต้องการใช้ประโยชน์จากมันยังไงบ้าง เช่นในประเทศที่ฤดูหนาวยาวนาน เขาจะทำบ้านให้แสงแดดเข้าไปในบ้านให้มากๆบ้านจะได้อุ่นนานๆ ส่วนบ้านในเขตร้อนเราจะทำบ้านให้มีแสงแดดเข้าบ้านน้อยๆบ้านจะได้เย็นสบายส่วนมาก เราจะให้แดดเข้าบ้านเฉพาะตอนเช้าๆเพราะไม่ร้อน แต่เราก็ต้องการแสงเพื่อให้บ้านน่าอยู่บ้านที่ทึบมืดเพราะช่องแสงและหน้าต่างน้อยเกินไปจะทำให้รู้สึกอึดอัด และยุงเยอะ บ้านในเขตร้อนเราต้องการให้ลมผ่านถ้าเราออกแบบให้บ้านมีทิศทางที่ต้อนรับลม ได้ดีก็จะช่วยให้บ้านน่าอยู่ขึ้น บ้านดินหรือบ้านอื่นๆเราก็ไม่อยากให้ ฝนเข้าบ้านอยู่ดี ดังนั้นเราควรจะรู้ทิศทางของฝนเพื่อจะได้ทำชายคายาวขึ้นหรือหาต้นไม้มาปลูกบังฝน ถ้าต้องการให้บ้านดินควบคุมอุณหภูมิได้ใกล้เคียงกับห้องแอร์ ควรจะมีเพดานที่มิดชิดมีประตูหน้าต่างที่ปิดเปิดได้ดีและมีช่องลมบนผนังใต้เพดานที่เปิดปิดได้ เพราะผนังบ้านดินมีความหนาอย่างน้อย 8 นิ้ว ความร้อนจากแสงแดดใช้เวลาประมาณ 10 – 11 ชั่วโมงกว่าจะทะลุเข้าไปในบ้านได้ถ้าผนังถูกแสงแดดโดยตรง ดังนั้นถ้าเราปิดประตูหน้าต่างตอนกลางวันอากาศภายในห้องจะอยู่ระหว่าง 25 -26 เซลเซียส จนถึงเวลาบ่าย 5 – 6 โมงเย็น ความร้อนจะทะลุเข้าไปในบ้านได้ ภายในห้องจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น ถ้าเป็นฤดูหนาวห้องจะอุ่นพอดีมา แม้ข้างนอกจะหนาวจนต้องใส่เสื้อกันหนาวหลายผืนแต่ในบ้านใส่เสื้อยืดตัวเดียว อยู่ได้สบาย เนื่องจาก ผนังที่หนาจะเก็บความร้อนได้นานหลายชั่วโมงถ้าเป็นหน้าร้อนตอนเย็นจะร้อนมาก ต้องเปิดประตูหน้าต่างและช่องลมใต้เพดาน เพื่อให้อากาศร้อนไหลออกไปแล้วอากาศเย็นจากข้างนอกจะเข้ามาแทนที่ โดยวิธีนี้จะทำให้อุณหภูมิภายในห้อง ใกล้เคียงกับห้องแอร์มากโดยไม่ต้องมีแอร์

การคำนวณว่าจะใช้อิฐกี่ก้อนวิธี ง่ายๆคือหาพื้นที่ผนังทั้งหมด โดยเอาความกว้างคูณความยาวคูณความสูงของผนังบ้านทั้งหมดตัดประตูหน้าต่างออก จะเหลือพื้นที่กี่ตารางเมตรถ้าทำอิฐขนาด 4x8x16 นิ้ว จะใช้อิฐประมาณ 25 ก้อน ต่อหนึ่งตารางเมตร คูณกันออกมาก็จะได้จำนวนอิฐที่เราต้องการแต่เวลาทำอิฐควรทำเผื่อไว้ บ้างเล็กน้อยก็ได้ บ้านดินจะออกแบบเป็นรูปทรงอะไรก็ได้ จะเป็นวงกลม หรือผนังตรงก็ได้หรือจะลากเส้นไปยังไงก็ได้ตามต้องการแต่ถ้าเป็นผนังตรงยาว เกิน 4 เมตรควรจะทำติ่งยื่นออกมาด้านนอกของกำแพงยาวอย่างน้อย 8 นิ้ว ทุกๆ 4 เมตรจะทำให้ กำแพงแข็งแรงมากขึ้นโดยเฉพาะขณะก่อใหม่ๆกำแพงยังไม่แห้งเวลาเคลื่อนไหวบนกำ แพงแรงๆอาจทำให้กำแพงเอนเอียงได้ การทำติ่งหรือการสร้างมุมขึ้นบนกำแพงตรงๆจะช่วยได้มาก จริงๆแล้ว ติ่งก็คือเสาดินที่ติดเชื่อมกับกำแพงด้านนอกห้องนั่นเอง บ้านดินไม่ควรมีเสาไม้เสาคอนกรีตหรือเสาอื่นๆอยู่ใน กำแพงนอกจากเสาอิฐดินที่ก่อเชื่อมติดอยู่ในกำแพงบางส่วน เพราะบ้านดินเป็นการก่อสร้างโดยใช้เทคนิค ผนังรับน้ำหนัก ผนังทั้งหมดจะเชื่อมต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันน้ำหนักจากข้างบนจะกระจาย ลงบนผนังทั้งหมดระบบผนังรับน้ำหนักจึงรับน้ำหนักได้มากกว่าระบบเสารับน้ำ หนักเช่นบ้านทั่วๆไปได้หลายสิบเท่าการมีเสาอยู่ในกำแพงดินจะทำให้บ้านดินไม่ แข็งแรงเพราะเสาจะแยกไม่ให้ผนังดินเชื่อมติดกันเวลามีแรงสะเทือนแรงๆเช่น แผ่นดินใหวจะทำให้เกิดรอยร้าวตรงที่เป็นเสาได้เมื่อเกิดรอยร้าวขึ้นหมายความ ว่ากำแพงไม่ได้เชื่อมติดกันอีกต่อไป การกระจายน้ำหนักก็จะจบลงตรงรอยร้าวผนังส่วนนั้นก็จะตั้งอยู่โดยไม่มีอะไร ค้ำยันถือว่าไม่แข็งแรงเลย

เวลาออกแบบควรจะคำนึงถึงทิศทาง แสง ลม ฝนว่ามันมาจากทิศทางใหนบ้างและเราต้องการใช้ประโยชน์จากมันยังไงบ้างเช่นใน ประเทศที่ฤดู หนาวยาวนานเขาจะทำบ้านให้แสงแดดเข้าไปในบ้านให้มากๆบ้านจะได้อุ่นนานๆส่วน บ้านในเขตร้อนเราจะทำบ้านให้มีแสงแดดเข้าบ้านน้อยๆบ้านจะได้เย็นสบายส่วนมาก เราจะให้แดดเข้าบ้านเฉพาะตอนเช้าๆเพราะไม่ร้อนแต่เราก็ต้องการแสงเพื่อให้ บ้านน่าอยู่ บ้านที่ทึบมืดเพราะช่องแสงและหน้าต่างน้อยเกินไปจะทำให้รู้สึกอึดอัด และยุงเยอะ บ้านในเขตร้อนเราต้องการให้ลมผ่านถ้าเราออกแบบให้บ้านมีทิศทางที่ต้อนรับลม ได้ดีก็จะช่วยให้บ้านน่าอยู่ขึ้น บ้านดินหรือบ้านอื่นๆเราก็ไม่อยากให้ ฝนเข้าบ้านอยู่ดี ดังนั้นเราควรจะรู้ทิศทางของฝนเพื่อจะได้ทำชายคายาวขึ้นหรือหาต้นไม้มาปลูก บัง ฝน ถ้าต้องการให้บ้านดินควบคุมอุณหภูมิได้ใก้ลเคียงกับห้องแอร์ควรจะมีเพดานที่ มิดชิดมีประตูหน้าต่างที่ปิดเปิดได้ดีและมีช่องลมบนผน้งใต้เพดานที่เปิดปิด ได้เพราะผนังบ้านดินมีความหนาอย่างน้อย 8 นิ้ว ความร้อนจากแสงแดดใช้เวลาประมาณ 10 – 11 ชั่วโมงกว่าจะทะลุเข้าไปในบ้านได้ถ้าผนังถูกแสงแดดโดยตรงดังนั้นถ้าเราปิด ประตูหน้าต่างตอนกลางวันอากาศภายในห้องจะอยู่ระหว่าง 25 -26 c จนถึงเวลาบ่าย 5 – 6 โมง เย็น ความร้อนจะทะลุเข้าไปในบ้านได้ ภายในห้องจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น ถ้าเป็นฤดูหนาวห้องจะอุ่นพอดีมา แม้ข้างนอกจะหนาวจนต้องใส่เสื้อกันหนาวหลายผืนแต่ในบ้านใส่เสื้อยืดตัวเดียว อยู่ได้สบาย เนื่องจาก ผนังที่หนาจะเก็บความร้อนได้นานหลายชั่วโมงถ้าเป็นหน้าร้อนตอนเย็นจะร้อนมาก ต้องเปิดประตูหน้าต่างและช่องลมใต้เพดาน เพื่อให้อากาศร้อนไหลออกไปแล้วอากาศเย็นจากข้างนอกจะเข้ามาแทนที่ โดยวิธีนี้จะทำให้อุณหภูมิภายในห้อง ใกล้เคียงกับห้องแอร์มาก โดยไม่ต้องมีแอร์

การคำนวณว่าจะใช้อิฐกี่ก้อนวิธี ง่ายๆคือหาพื้นที่ผนังมั้งหมด โดยเอาความกว้างคูณความยาวคูณความสูงของผนังบ้านทั้งหมดตัดประตูหน้าต่างออก จะเหลือพื้นที่กี่ตารางเมตตรถ้าทำอิฐขนาด 4x8x16 นิ้ว จะใช้อิฐประมาณ 25 ก้อน ต่อ หนึ่งตารางเมตร คูณกันออกมาก็จะได้จำนวณอิฐที่เราต้องการแต่เวลาทำอิฐควรทำเผื่อไว้ บ้างเล็กน้อยก็ได้

3. ทำ ฐาน หรือ เทคาน การทำบ้านดินชั้นเดียว อาจจะไม่จำเป็นต้องทำฐานก็ได้ถ้าไม่ห่วงเรื่องปลวกวัตถุประสงค์หลักของฐาน หรือคานบ้านดินคือ ป้องกันปลวกฉนั้นฐานควรจะอยู่เหนือดินไม่จำเป็นต้องขุดลึกลงไปในดิน วัตถุประสงค์รองลงมาคือป้องกันความชื้นที่จะขึ้นมาหาอิฐดินหรือน้ำท่วม ยกเว้นที่ถมใหม่ที่ยังไม่ผ่านฝนเลยหรือพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวมากๆเช่น บริเวณลุ่มน้ำต่างๆ เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจำเป็น ต้องมีฐานใหญ่และลึกลงไปในดินด้วย เพราะที่ถมใหม่ดินจะยังไม่แน่นโอกาศทรุดจะมีมากและพื้นดินเหนียวดินจะขยาย ตัวและอ่อนนิ่มมากเมื่อเปียกน้ำและจะหดตัวอย่างมากเมื่อแห้งดังนั้นจึง จำเป็นต้องมีฐานเหมือนบ้านทั่วๆไปการทำฐานบนพื้นที่ที่มีหินหรือทรายปนมากๆ ควรทำฐานเหนือดินโดยใช้ก้อนอิฐดินที่แห้งแล้วตั้งด้านข้างเรียงกันเป็นแบบ พิมพ์ แทนไม้แบบโดยให้ฐานกว้างอย่างน้อยเท่ากับความกว้างของอิฐที่จะก่อหรืออย่าง น้อย 8 นิ้ว และความสูงอย่างน้อย 5 นิ้วขึ้นไปแล้วเทคอนกรีตเสริมเหล็กหรือเสริมไม้ไผ่ก็ได้ควรจะแกะอิฐดินที่ ใช้เป็นแบบพิมพ์ออกก่อนที่คอนกรีตจะแห้งจะแกะง่ายและไม่เสียอิฐนำมาก่อ ใช้ได้อิกเหมือนเดิมหรือจะใช้เศษคอนกรีตที่คนทุบตึกทิ้งหรือก้อนหินมาก่อ ด้วยปูนทำเป็นฐานก็ได้

4. ทำแบบพิมพิ์อิฐ ขนาดของอิฐที่เราใช้ส่วนมากคือ 4x8x16 นิ้ว ขนาด ของอิฐไม่สำคัญแต่ขนาดของกำแพงสำคัญกว่ากำแพงบ้านดินควรจะหนาอย่างน้อย 8 นิ้วขึ้นไปเพื่อความแข็งแรงเพราะเป็นระบบผนังรับน้ำหนักและเพื่อควบคุม อุณหภูมิภายในบ้านด้วยฉนั้นขนาดของอิฐทำเท่าไรก็ได้ตามต้องการผมเคยทำ ขนาด 5x10x16 นิ้วปรากฏว่าไม่มีคนอยากจะช่วยยกอิฐเลย โดยเฉพาะเวลาก่อขึ้นสูงๆไม่มีใครอยากส่งอิฐให้เพราะมันหนักแต่ก่อได้เร็วมาก ถ้าทำก้อนเล็กก็จะรู้สึกว่ามันไปช้ามากแต่ขนาด 4x8x16 นิ้วค่อนข้างจะดี นไม่ค่อยรังเกียจที่จะช่วยยกช่วยส่งแบบพิมพ์จะทำด้วยเหล็กหรือไม้ก้ได้แต่ ไม้จะง่ายและถูกกว่าจะทำเป็นช่องเดียวหรือหลายช่องก็ได้แล้วแต่ว่าจะมีคน ช่วยยกกี่คน

5. เตรียมพื้นที่ทำอิฐ ควรจะหาที่ที่ ใกล้กับฐานให้มากที่สุดเพราะจะไม่ต้องขนไกลงานหนักที่สุดในการทำบ้านดินคือ การขนดินฉะนั้นถ้าทำใก้ลๆฐานทำอิฐเสร็จก็ขนเข้าไปกองไว้กลางฐานเลยเวลาก่อก็ ยกมาก่อได้เลยพื้นที่จะทำอิฐควรปรับให้เรียบที่สุดจะได้อิฐที่สวยที่สุดแต่ พื้นที่จะทำอิฐไม่ควรเป็นคอนกรีตหรือพลาสติกหรือพื้นที่มีผิวเรียบมากๆเพราะ จะแห้งช้ามากและแกะออกไม่ได้เพราะมันจะดูดติดแน่นมากเพราะน้ำชึมผ่านไม่ได้ ทำให้แห้งช้าและอากาศผ่านไม่ได้พอน้ำจากอิฐระเหยออกทางด้านบนด้านเดียวเลย เกิดช่องศูนยากาศ ขึ้นระหว่างด้านล่างของก้อนอิฐกับพื้นที่เรียบเลยทำให้แกะออกยากมาก

6. การเลือกดินที่จะใช้ทำอิฐ หรือทำบ้าน เราต้องการดินที่มีดินเหนียวปนอย่างน้อย 15% ขึ้นไปและไม่ใช่ดินเหนียวล้วนวิธีทดสอบง่ายๆคือเอาดินมากำมือหนึ่งผสมน้ำนวด ให้เหนียวปั้นเป็นเส้นขนาดนิ้วมือและยาวเท่ากับนิ้วมือ จับปลายข้างหนึ่งยกขึ้นถ้าเสันดินไม่ขาดก็ถือว่าใช้ได้อีกวิธีหนึ่งคือเอา มือที่เปื้อนดินจุ่มลงไปในน้ำแล้วยกขึ้นโดยไม่ต้องแกว่ง ถ้ามือสะอาด เลย แสดงว่าทรายเยอะเกินไป ใช้ไม่ได้ ถ้ามีดินติดมืออยู่บ้าง ถือว่าใช้ได้แต่ถ้าต้องล้างมือนานๆจึงจะสะอาดถือว่าดินเหนียวเยอะเกินไปใช้ ไม่ได้ถ้าจำเป็นต้องใช้ต้องเพิ่มทรายและเส้นใยมากขึ้น

7. ส่วนผสมของอิฐดิน
– ดินที่เลือก ได้ตามข้อ 6
– น้ำ
– เส้นใย เช่น แกลบ ฟางช้าวหรือหญ้าแห้งที่ไม่ยาวเกินไปเส้นใยจะทำหน้าที่เสริมให้ก้อนอิฐแข็ง แรงขื้นลดการหดต้วของดินเหนียวทำให้อิฐไม่ร้าวและเป็นหลังคาให้ก้อนอิฐทำให้ น้ำ กัดเซาะ ช้าลงถ้าไม่มีเส้นใยในพื้นที่เลยอาจจะใช้ทรายแทนได้ชึ่งทรายช่วยทำให้อิฐ แข็งแรงได้ลดการแตกร้าวได้แต่ลดการกัดเซาะไม่ได้ต้องระวังไม่ให้ถูกฝนเช่นทำ อิฐและก่อสร้างในหน้าแล้ง ทำชายคายาวขึ้นหรือฉาบทาผนังด้านนอกด้วยวัสดุที่กันน้ำได้ทรายที่ไช้ไม่ จำเป็นต้องเป็นทรายจากแม่น้ำหรือทรายก่อสร้างจะเป็นดินตามทุ่งนาที่มีทราย ผสมมากๆก็ได้

ส่วนผสมทั้งหมดไม่อาจทำเป็นอัตราส่วนได้เพราะดิน แต่ละที่จะไม่เหมือนกัน หรือแม้แต่ที่เดียวกันแต่ต่างระดับกันก็ยังไม่เหมือนกัน ฉนั้นจึงทำสูตรไม่ได้แต่ใช้วิธีทดสอบง่ายๆโดยทำอิฐดูก่อนทิ้งไว้สักวันถ้า อิฐมีรอยร้าวแสดงว่าเส้นใยไม่พอถ้าไม่ร้าวเลยก็ใช้ได้และทดสอบความแข็งแรง โดยใช้อิฐที่แห้งแล้วมาทดสอบ ยกอิฐขึ้นสุดแขนเอามุมของก้อนอิฐทุ่มลงที่พื้นแข็งอย่างแรง ถ้าอิฐแตก หักเป็นก้อนมากกว่า 4 ก้อนถือว่าใช้ไม่ได้ ดินที่ใช้มีดินเหนียวไม่พอ

8. การทำอิฐ ขุดพรวนดืนให้ร่วนซุยทำขอบกั้นรอบๆให้ขังน้ำได้เติมน้ำให้ท่วมดิน แล้วปล่อยให้ดินซับน้าซักพักเมื่อดินอิ่มน้ำแล้วลงเหยียบได้ทดสอบว่าดินอิ่ม น้ำหรือยังโดยเหยียบลงไปในบ่อดินถ้าท้าวเหยียบผ่านดินลงไปถึงก้นบ่อได้แสดง ว่าดินอิ่มน้ำแล้วย่ำต่อไปได้ แต่ถ้าเหยียบดูแล้วเท้าไม่จม ผ่านดินลงไปถึงก้นบ่อให้รอก่อนเพราะถ้าเหยียบย่ำต่อไปจะทำให้ดินแน่นแข็ง ต้องขุดใหม่ ถ้าจำเป็นต้องรีบทำ ห้ใช้จอบขุดช่วยผสมให้ดินชับน้ำเร็วขึ้นหรือทำที่ละหลายๆบ่อแล้วทำเวียนไป เรื่อยๆดินบางที่มีดินเหนียวมากอาจจะต้องแช่ข้ามคืนก็ควรจะทำหลายบ่อจะเร็ว ขึ้นให้เหยืยบย่ำดินจนเละเป็นโคลนแต่ไม่ควรเกิน 5 นาทีดินอาจจะยังเป็นก้อนอยู่บ้างก็ไม่เป็นไรให้เติมเส้นใยลงไปเล ในระหว่างที่ย่ำผสมเส้นใยก้อนดินเหล่านั้นจะแตกละลายเอง เติมเส้นใยไปเรื่อยๆจนดินข้นตามต้องการแล้วตักใส่พิมพ์ความข้นที่พอดีทดสอบ โดยเหยียบเท้าลงไปในดินจนถึงก้นบ่อแล้วถอนท้าวขึ้นมาจะเห็นรอยท้าวเป็นรู ค่อยๆปิดเข้าหากันแต่ไม่สนิทถือว่าข้น พอดีหรือวิธีที่แน่นอนที่สุดคือตักดินไปเทใส่พิมพ์ลองดูปาดหน้าพิมพ์ให้ เรียบแล้วถอดพิมพ์ออกถ้าอิฐอยู่ทรงคงรูปได้ไม่ใหลไม่แบะถือว่าใช้ได้ถ้าอิฐ ไม่อยู่ทรงให้เติมเส้นใยหรือเพิ่มดินเข้าไปอีกถ้าถอดพิมพ์ยากหรือติดพิมพ์ ให้เติมน้ำแล้วผสมใหม่ก่อนใช้พิมพ์ครั้งแรกควรเช็ดพิมพ์ให้เปียกก่อนแต่ไม่ ควรเช็ดพิมพ์ทุกครั้งเพราะจะเสียเวลามากเติมน้ำที่บ่อเร็วกว่า

ถ้าต้องทำอิฐมากไช้รถไถนาแบบ เดินตาม ใส่ล้อเหล็ก ไถพรวนดิน สูบน้ำใส่ แล้วใช้ล้อเหล็กเหยียบนวด จะเร็วมากแล้วใช้แบบพืทพ์ขนาด 10 ก้อนหรือ มากกว่านั้นแต่ทำเป็น 2 แถวติดกัน ตักดินใส่รถเข็นปูนมาเทลงพิมพ์ ใช้ไม้ปาดหน้าพิมพ์ให้เรืยบทีเดียวแล้วยกพิมพ์ออก วิธีนี้จะเร็วมาก

หลังจากถอดพิมพ์ออก ปล่อยตากแดดประมาณ 2 วันหรือรอจนอิฐ สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยไม่เสียทรงให้พลิก ตั้งด้านข้างขึ้นแล้วใช้มีดพร้าเก่าๆ ถากตกแต่งอิฐให้รูปทรงเสมอกันตามต้องการถ้าปล่อยให้อิฐแห้งมากกว่านี้อาจ ทำให้อิฐติดกับพื้นแน่นพลิกกลับยาก และต้องถากตกแต่งมากด้วย การพลิกอิฐตั้งด้านข้าง จะทำให้อิฐแห้งเร็วขึ้นเท่าตัว

ถ้า 2 คนทำอิฐ 2 ชั่วโมงได้อิฐน้อยกว่า 50 ก้อน ถือว่ามีอะไรผิดพลาดในเทนิคการทำไม่ควรทนทำต่อไป แต่ให้หยุดคิดหาข้อบกพร่องหรือทดลองหาความง่ายให้ได้เพราะถ้าทำต่อไปแบบเดิม จะเสียเวลามากและเสียกำลังใจดัวยความถูกต้องคือง่ายและเร็วถ้ายากและช้า ถือว่าผิด

สาเหตุที่ทำให้การทำอิฐว้าคือ
– ใส่น้ำน้อยเกินไปทำให้เหยียบนวดยากมาก
– ไม่รู่ว่าขนาดใหนคือพอดีก็จะเหยียบนวดเพลินไปเรื่อยๆ
– ผสมดินแห้งเกินไปทำให้ต้องเสียเวลากดลงในพิมพ์หรือดินแห้งไปนิดหนึ่งจะทำให้ aติดพิมพ์แล้วต้องใช้น้ำเช็ดพิมพ์ทุกครั้ง
– ลูบตกแต่งหน้าอิฐนานเกินไปเพื่อให้หน้าอิฐเรียบสวยความจริงแล้วมันเป็นความ สวยที่ไม่จำเป็นเพราะเวลาก่อเป็นบ้านมันจะถูกฉาบทับปิดหมดเลย

9. การก่ออิฐ ก่อนที่จะก่อควรจะตั้งวงกบประตูบนคานให้เสร็จก่อนแล้วก่ออิฐชนวงกบไปได้เลย วงกบไม่จำเป็นต้องตอกตะปูรอบๆเหมือนกับการทำบ้านคอนกรีตไม่ต้องกลัวว่าเวลา

ปิดเปิดประตูแรงๆแล้ววงกบจะหลุดออกมาด้วยเพราะน้ำหนักที่กดทับลงมาและแรงดูด ของดินทำให้มันแน่นมากแม้แต่เวลาจะขุดออกเพื่อเปลี่ยนวงกบใหม่ยังยากมาก แต่สำหรับคนที่ไม่มั่นใจอาจจะตีไม้หน้าสามยาวสักคืบกว่าๆติดตรงกลางวงกบทั้ง สองข้างแล้วก่ออิฐทับไปเลยก็ได้ การก่อก็เหมือนกับการก่ออิฐมอญหรืออิฐ คอนกรีตทั่วๆไปคือแต่ละแถวต้องไม่ให้ตรงที่ต่ออิฐตรงกัน อิฐแต่ละแถวจะต้องสลับกันส่วนดินที่ใช้ก่อแทนปูนก็ไช้ดินอันเดียวกันกับดิน ที่ใช้ทำอิฐ เพียงแต่ทำให้เหลวขึ้นกว่าตอนทำอิฐนิดหนึ่งดินก่อหรือดินเชื่อมนี้จะผสมโดย ไม่ต้องใช้แกลบหรือเส้นใยก็ได้ดินก่อไม่ควรจะใส่หนา ขนาดที่พอดีคือประมาณหนึ่งส่วนสามของหลังอิฐ ถ้าเราแบ่งหล้งอิฐออกเป็นสามส่วน แล้วใส่ดินก่อตรงส่วนกลางโดยทำให้เป็นคู เหมือนคันนา ไม่ควรละเลงดินก่อให้เรียบบนหลังอิฐ เพราะเวลาวางอิฐลง น้ำหนักอิฐจะกดบีบให้ดินก่อไหลไป เติมรอยเว้าแหว่งทั้งสองข้างของก้อนอิฐ เอง โดยวิธีนี้จะทำให้ไม่มีช่องว่างตรงกลางอิฐหรือกลางกำแพง แต่อาจจะมีช่องว่างตามด้านข้างของอิฐ ชึ่งก็ดี ทำให้ กำแพงแห้งเร็ว และเวลาฉาบ ดินฉาบจะมีที่เกาะดีขึ้น ถ้าละเลงดินก่อให้เรียบ เวลาวางอิฐลงจะเกิดช่องว่าง มาก เพราะปกติอิฐจะไม่ค่อยเรียบมีเว้ามีแหว่งเสมอ ถ้าใช้ดินก่อหนา ก็จะทำให้แห้งช้า เวลาก่อสูงๆจะทำให้กำแพงเอียงได้ง่ายเมื่อก่อถึงระดับที่จะใส่หน้าต่างก็ยกวงกบขึ้นตั้งได้ เลย จับระดับน้ำให้ดีแล้วก่อชนวงกบได้เลยและไม่มีความจำเป็นต้องตอกตะปูรอบวงกบ ทำให้ก่อง่ายด้วย ถ้าบานหน้าต่างกว้างมากควรใช้ไม้หรือเหล็กแข็งๆพาดเหนือวงกบ ห่างกับวงกบ ประมาณ 2 นิ้ว เป็นทับหลังป้องกัน วงกบแอ่น แต่ถ้าช่องบานหน้าต่างกว้างไม่เกิน หนึ่งเมตร ก็ไม่มีปัญหา ไม่ต้องมีทับหลังก็ได้ ถ้ายังไม่มีวงกบจะเว้นช่องไว้ก่อนก็ได้ ส่วนเหนือวงกบ ถ้าไม่อยากใช้ทับหลัง ก็สามารถก่อโดยค่อยๆยื่นอิฐออกมาข้างละ 3-4 นิ้ว จนชนกัน ครงกลาง ช่องสามเหลี่ยมที่เกิดขึ้นเหนือวงกบค่อยมาเติมทีหลัง ในระหว่าง กำลังก่อกำแพงอาจจะเว้นช่องแสงไว้แล้วค่อยมาประดับตกแต่งภายหลัง ด้วยขวดหรือกระจกสีต่างๆก็ได้ การก่ออิฐดิน จะขึงเชือกก่อไปตามเชือก และใช้ระดับน้ำวัดความตรงของกำแพงบ่อยๆเพื่อให้ได้กำแพงตรงเหมือนการก่อ คอนกรีตก็ได้แต่จะใช้เวลามากหน่อยหรือจะก่อโดยไม่ต้องจับ ระดับน้ำไม่สนใจความเสมอเหนือกำแพง ปล่อยให้มันโค้งเป็นคลื่นก็ได้ แล้วไปจับระดับน้ำชั้นสุดท้ายของการก่อก็ได้ ส่วนใหนสูงเกินก็ตัดออกหรือแกะออกส่วนไหนต่ำก็ใช้ฟางชุบดินพอกขึ้นไปให้ถึง ระดับที่ต้องการได้ หรือจะทำโครงหลังคาใส่ก่อนแล้วจับระดับน้ำทีโครงหลังคาให้เสมอกันทั้งหมด โดยใช้ไม้หรืออะไรแข็งๆรองรักษาระดับใว้ก่อน เสร็จแล้วเอาดินเสริมส่วนที่ต่ำ มีทางให้เลือก หลายทาง

10. การทำหลังคา เมื่อทำผนังได้สูงตามต้องการแล้วให้ทำโครงหลังคาทับบนหลังของผนังบ้านได้เลย เพื่อให้เข้าใจง่ายๆให้คิดถึงเวลาเขาทำแบบจำลองบ้านเขาจะทำโครงหลังคาแยก ต่างหากแล้วเอามาทับบนตัวบ้านเวลาจะโชว์บ้านทั้งหลังถ้าอยากจะดูภายในบ้านก็ ยกหลังคาออกบ้านดินก็คล้ายๆกันคือทำโครงหลังคาบนหลังกำแพงเลยเมื่อก่อกำแพง เสร็จใช้ไม้วางรอบหลังกำแพงแล้วตีไม้ให้ติดกันทั้งหมดจากนั้นตีดั้งต่อขึ้น จากไม้ที่วางรอบกำแพงเอา คานหรืออกไก่ขึ้นตีติดกับดั้งจากนั้นใส่จันทันทุกอย่างก็จะทำเหมือนบ้านปกติ เพียงแต่ก่อนที่จะมุงหลังคาให้เอาดินพอกไม้โครงหลังคาส่วนที่ติดกับกำแพง เป็นการยึดโครงหลังคาติดกับตัวบ้านโดยไม่ต้องตอกตะปู จากนั้นมุงหลังคาให้เสร็จได้เลยแต่ถ้าใครไม่มั่นใจว่าดินจะยืดโครงหลังคา อยู่ได้ก็มีทางออกโดยเจาะรูที่กำแพงใต้โครงหลังคาลงมาสักหนึ่งเมตรแล้วใช้ ลวดสอดมัดโครงหลังคาติดกับกำแพง จากนั้นฉาบทับเส้นลวดให้มิดก็ได้ หสังคาบ้านดินจะเป็นอะไรก็ได้ ตั้งแต่หญ้า สังกะสี กระเบื้อง หรือแม้แต่หลังคาดินก็สามารถทำได้ เพราะบ้านดินรับน้ำหนักได้มากกว่าบ้านธรรมดาหลายเท่า

แต่ถ้าเป็นหลังคาดินต้องฉาบทับด้วยวัสดุที่กันน้ำได้เช่น ขี้ ผึ้ง หรือพาราฟิน หรือน้ำมันลินสีดหรือน้ำมันยางผสมชันยาเรือหรือคอนกรีตหรือ อะไรที่กันน้ำได้ก็ได้

11. การเดินสายไฟและระบบน้ำ ควรจะทำก่อนการฉาบท่อสายไฟหรือท่อน้ำจะขุดฝังไว้ในกำแพงเลยก็ได้ หรือถ้าไม่อยากใช้ท่อกับสายไฟก็ใช้ดินฉาบทับสายไฟติดกับผนังไปเลยก็ได้

12. การฉาบ ควรฉาบหลังจากทำหลังคาเสร็จเพราะบางครั้งถ้ามีฝนตกลงมาเราจะไม่ต้องมาฉาบ ใหม่เพราะดินฉาบจะไม่ทนต่อการเซาะของฝนเหมือนก้อนอิฐดินที่ใช้ฉาบก็เหมือน กันกับดินที่ใช้ก่อคือมีดินผสมแกลบและน้ำเหมือนกันแต่จะทำเหลวทำข้นแล้วแต่ ใครถนัดส่วนวิธีการฉาบจะใช้มือหรือใช้เกรียงฉาบก็ได้ถ้าต้องการเนื้อที่ เรียบเสมอกันเหมือนคอนกรีต ควรใช้เกรียงฉาบ แต่ถ้าต้องการผิวผนังเว้านูนไปตามผิวกำแพงก็ควรใช้มือฉาบ วิธีฉาบก็เหมือนกับการฉาบปูนคือให้ลูบขึ้นเสมอเพื่อดินฉาบจะไม่ร่วงลงพื้น เสียหมด ไม่ว่าจะฉาบแบบเว้านูนหรือแบบเรียบตรงเหมือนคอนกรีตก็ควรฉาบให้ผิวเนียน ที่สุดที่จะทำได้เพราะจะง่ายในการทาสีและจะประหยัดสีด้วย

หรือน้ำมันลินสีดหรือน้ำมันยางผสมชันยาเรือหรือคอนกรีตหรืออะไรที่กันน้ำได้ ก็ได้

13. การทำสี เมื่อผนังแห้งสนิทจริงจึงจะทาสีได้ถ้าทาสีขณะที่ผนังไม่แห้งบางครั้งอาจเกิด ราขึ้นได้สีของบ้านดินนอกจากจะทำให้สวยงามตามต้องการแล้วยังมีหน้าที่ทำให้ ผนังแข็งขึ้นและไม่มีฝุ่นร่อนออกมาด้วย สีที่ใช้กับบ้านดินมีหลายชนิดแต่ที่นิยมใช้กันมากก็คือสีที่ได้จากดิน ดินมีสีให้เราเลือกได้มากมาย เช่นสีแดง ชมพู เหลือง ม่วง เทา ส้ม ขาวเป็นต้น แล้วเรายังเอาสีเหล่านี้มาผสมกันอีกเพื่อให้ได้สีอื่นๆเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย ดินแต่ละที่จะมีสีที่ต่างกัน ถ้าขุดลึกลงไปต่างระดับกันก็จะได้สีดินที่ต่างกันด้วย

การทำสีดิน เมื่อได้สีที่ชอบมา เอามาแช่น้ำให้ละลายแล้วร่อนด้วยมุ้งเขียวหรือตะแกรงถี่ๆเพื่อให้ได้ เนื้อที่ละเอียดที่สุด เสร็จแล้วตั้งไว้ประมาณสองวันหรือจนตกตะกอน รินน้ำใสๆออกทิ้งแล้วเก็บเดินที่เป็นเลนไว้ใช้ จากนั้นไปหาทรายละเอียดมากๆ ชึ่งจะหาได้ตามข้างถนนที่น้ำชัดมากองรวมกันหรือบางแห่งจะมีแหล่งทรายแบบนี้ เยอะ เอามาร่อนผ่านตะแกรงเหมือนกันจากนั้นก็หา ตัวที่จะทำเป็นกาว จะเป็นแป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียวหรือแป้งข้าวสาลีก็ได้ วิธีทำแป้ง คือต้มน้ำ 13 ลิตรให้เดือด แล้วผสมแป้งครึ่งกิโลกับน้ำเย็นหนึ่งลิตรให้ละลายดีแล้วเทลงในน้ำที่เดือด อยู่ คนเร็วๆจนใสก็ใช้ได้

สูตรผสมสี – ดินสีที่ร่อนแล้ว 1 ส่วน
– ทรายละเอียดที่ร่อนแล้ว 3 ส่วนขึ้นไป
– แป้งมันหรือแป้งอื่นๆที่ต้มแล้วใส่ให้เหลวตามต้องการ ส่วนนี้ถ้าหาหากาวลาเท็กราคาถูกได้ก็ใช้ได้ดีมาก

นำส่วน ผสมทั้ง 3 อย่างมาผสมกัน ทำให้เหลวข้นเหมิอนสีทาบ้านทั่วๆไปโดยใช้แป้งเปียกหรือกาวปรับความเหลวความ ข้นตามต้องการ แล้วใช้ทาได้เลยการทาสีจะใช้แปรงเหมือนทาสีทั่วๆไปก็ได้แต่ส่วนมากจะใช้ อุ้งมือตักสีแล้วค่อยๆลูบขึ้นตามผนัง

สีสูตรนี้ใช้ได้ดีสำหรับภายใน หรือส่วนที่ไม่ถูกฝนเท่านั้นซึ่งถ้าไม่โดนความชื้นเลยก็จะอยู่ได้นานมากกว่า 10 ปี แต่ถ้าถูกฝนหรือโดนน้ำนานๆก็จะพองและกะเทาะออกง่าย สีสูตรนี้ใช้ได้กับไม้และผนังคอนกรีตด้วย

ส่วนที่มีโอกาสโดนน้ำมีทางเลือกดังนี้

1. ปูนขาว ใช้ปูนขาวแช่น้ำประมาณหนึ่งสัปดาขึ้นไปแล้วกรองเอาส่วนที่ ละเอียดที่สุดตั้งไว้ปล่อยให้ตกตะกอนคืนหนึ่งเทน้ำใสๆออกก็จะได้ปูนขาวที่ เป็นโคลนมีเนื้อละเอียดมากนำส่วนนี้หนึ่งส่วนผสมกับทรายละเอียดที่ได้จาก ข้างถนนที่มีเนื้อละเอีอดมากๆและร่อนดีแล้วสองส่วนขึ้นไปเติมน้ำปรับความข้น ได้แต่เติมแป้งเปียกไม่ได้เพราะส่วนมากจะเกิดการแยกตัวเหมือนนมผสมน้ำส้ม หรือเหมือนเวลาทำเต้าฮู้

2. ขี้ผึ้งหรือพาราฟิน ต้มขี้ผึ้งหรือพาราฟินหนึ่งส่วนให้ละลาย เติมน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์อย่างน้อยสี่ส่วน ขึ้นไปต้มต่อไปจนเดือดแล้ว ใช้แปรงทาสีทาผนังในขณะที่ร้อน หลังจากทาด้วยขี้ผึ้งหรือพาราฟิน ผนังจะเป็นมันเงา และสีจะคล้ำกว่าเดิม แต่จะปกป้องผนังจากความชื้นได้ดี

3. น้ำมันลินสีด ถ้าใช้น้ำมันลินสีดแท้ทาผนังจะทำให้ ผนังแข็งและกันน้ำไ ด้ดีมาก เคยมีคนทำอ่างอาบน้ำด้วยดิน แล้วทาด้วยน้ำมันลินสีด 6 ครั้ง จากนั้น ก็เปิดน้ำใส่เข้าไปนอนแช่ได้สบาย ถ้าใช้กับผนังภายนอกหรือส่วนที่ถูกน้ำบ่อยๆจะดีมาก ปัญหาคือบ้านเราน้ำมันลินสีด แท้แพงมากเกินไปและหาชื้อยากด้วยแต่น้ำมันลินสีดผสมก็พอหาซื้อได้ตามร้านขาย สีทั่วไป ราคาก็ยังแพงอยู่คุณภาพก็พอใช้ได้ ไม่ถือว่าดีมากเขาผสมน้ำมันชักแห้งมากเกินไป ถ้าใช้ทาผนังทาเพียงครั้งเดียวก็พอ

4. น้ำยางพารา มีการทดลองใช้ยางพำรา ผสมกับแอมโมเนียมคลอไรด์ แล้วนำมาผสมกับดินฉาบทาผนังทำพื้นดิน ทำหลังคาดินในเบื้องต้นใช้ได้ดีมากแต่ในระยะยาวยังไม่รู้ ต้องรอดูกันต่อไป เพราะกำลังอยู่ในขั้นทดลองใช้ ราคาก็แพงบ้าง แต่อีกไม่นานราคาจะถูกลงเพราะคนปลูกยางกันเยอะมาก

5. ปูนซีเมนต์ ใช้ปูนวีเมนต์ 20% ผสมกับดินฉาบผนังจะทำให้แข็งกันการกัดเซาะได้ดี ถ้าใช้ซีเมนต์ฉาบเหมือนฉาบปูนก็ทำได้ แต่จะเกิดรอยร้าวได้ง่ายกว่าใช้ซีเมนต์ผสมดินเพราะการขยายตัวของดินกับ ซีเมนต์ต่างกันจะทำให้เกิดการแยกตัวหรือเกิดรอยร้าวได้ง่าย

6. สีน้ำมันหรือวัสดุกันน้ำต่างๆ ก็สามารถใช้ได้ถ้าไม่รังเกียจสิ่งที่เป็นเคมี ใช้ทาตามคำแนะนำของผลิตภัณเหล่านั้นได้เลย

ความกังวลเรื่องการหายใจของผนังหรือความกลัวว่าความชื้นในผนังจะผ่านออกมาไม่ได้นั้น ความเป็นมา เกิดขึ้นที่ รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศ อเมริกา เมื่อหลายปีมาแล้ว รัฐนี้ได้ออกกฎหมายให้อาคารบ้านเดินทั้งหลาย ใช้ซีเมนต์ฉาบผนัง ไม่กี่ปีต่อมาปรากฏว่า ผนังต่างๆเริ่มผุพังอย่างรวดเร็ว รวมทั้งผนังโบสถ์และบ้านเรือนที่มีอายุหลายร้อยปี จากนั้นผู้คนก็เริ่มฝ่าฝืนกฎหมายโดยลอกผนังคอนกรีตออก แล้วฉาบด้วยดินเหมือนเดิม ทำให้ปัญหาผนังผุหาย